วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 14 เรื่อง จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศ

ข้อ 1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
คำตอบ.
คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเองเช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

ข้อ 2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมีวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
คำตอบ.
คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

ข้อ 3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย

3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

ข้อ 4. ท่านคิดว่าปัญหาในเรื่องความปลอดภัยใดบ้างที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในองค์การธุรกิจ และจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขปัญหานั้นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
คำตอบ.
คือ ปัญหาในเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นโดยป้องกันปัญหานั้น คือ ควรมีระบบตรวจสอบการเข้าใช้ เพื่อทำการอนุญาตการใช้ระบบนั้น เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามอ ลายเซ็น และรูปหน้า เป็นต้น โดยอุปกรณ์จะทำการแปลงลักษณะส่วนบุคคลให้อยู่ในรูปของดิจิทัล แล้วทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ก็จะปฏิเสธการเข้าสู่ระบบ

ข้อ 5. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
คำตอบ.
คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

ข้อ 6. จากเหตุการณ์ต่อไปนี้ จงตอบคำถาม
ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทแห่งหนึ่งได้สอดส่องการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานบริษัท และพบว่ามีพนักงานจำนวนมากใช้ระบบของบริษัทเพื่องานส่วนตัวข้อความบางส่วนที่ตรวจพบเป็นจดหมายรักบ้าง เป็นข้อมูลการดูแลผลการแข่งขันฟุตบอลบ้าง ดังนั้นผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยท่านนี้จึงได้เตรียมทำรายงานชื่อพนักงานเหล่านั้น พร้อมตัวอย่างข้อความที่ใช้งานกันเพื่อให้กับฝ่ายบริหารต่อไป ผู้จัดการฝ่ายบางคนก็ลงโทษพนักงานในฝ่ายของตนที่ใช้อีเมลในงานส่วนตัว ในขณะที่ฝ่ายพนักงานได้เรียกร้องในเรื่องความเป็นส่วนตัวของการใช้งานระบบอีเมลของบริษัท

6.1 ท่านคิดว่าการที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการฝ่ายสอดส่องเฝ้าดูการใช้อีเมลของพนักงานนั้นเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
คิดว่าการสอดส่องของผู้บริหารฝ่ายจัดการข้อมูลนั้น ได้ผิดจริยธรรม เพราะว่าพนักงานถึงจะใช้ระบบอีเมล์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใช้ในเวลาทำงาน หรือว่าเวลาว่างไม่ควรด่าว่าให้กับพนักงาน

6.2 การใช้อีเมลเพื่อการสื่อสารส่วนตัวของพนักงานเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ จงให้เหตุผลประกอบ
คำตอบ.
การใช้อีเมล์เพื่อการสื่อสารส่านตัวของพนักงาน คิดว่า ไม่ผิดจริยธรรม เพราะว่าการใช้อีเมล์ของพนักงาน นอกจากที่ได้กล่าวไว้แล้ว อาจใช้ติดต่อกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวก็ได้


6.3 การที่ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศส่งรายชื่อพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้ให้กับผู้บริหารเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การที่ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยได้ส่งรายชื่อพนักงานให้กับผู้บริหาร ไม่ผิดจริยธรรม แต่การทำงานร่วมกันควรตักเตือนก่อนหรือให้คำชี้แนะที่ดีแก่พนักงานเหล่านั้น

6.4 การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรม เพราะว่า การลงโทษพนักงานที่ทำงานมาด้วยกัน ไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี นั้น อาจทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงานก็ได้ และพนักงานบางคนอาจลาออกจากงาน ก็จะส่งผลกระทบในตำแหน่งงานนั้นด้วยตามมา

6.5 ท่านคิดว่าบริษัทควรดำเนินการเช่นใดเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ถูกต้อง
คำตอบ.
คิดว่าบริษัทควรแก้ไขในการดำเนินครั้งนี้ คือ ควรจัดการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมดในเรื่องของการใช้อีเมล์ และกำหนดให้ใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูก


คำถามท้ายบทที่ 13 เรื่อง Knowledge Management : KM

ข้อ 1. สารสนเทศกับความรู้คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ.
สารสนเทศกับความรู้ต่างกัน คือ ความรู้คือการผสมผสานของประสบการณ์ ส่วนสารสนเทศ คือ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่สามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ๆ ได้

ข้อ 2. การจัการความรู้ความสำคัญต่อองค์การในปัจจุบันอย่างไร
คำตอบ.
เป็นกระบวนการที่เป้ฯระบบ หมวดหมู่ ง่ายต่อการสรรหา การเลือก การรวบรวมจัดระบบที่คนในองค์การสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อที่จะพัฒนาตนองให้มีความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ

ข้อ 3. เทคโนโลยีสารสนเทศมีการถูกนำไปใช้ในการจดการความรู้ได้อย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

3.2 การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
3.3 เป็นการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
3.4 เป็นระบบประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์
3.5 การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย
3.6 การสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
3.7 การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์

ข้อ 4. เว็บศูนย์รวม (Enterprise Knowledge Portal) และบล็อก (Blog และ Weblog) สำหรับการจัดการความรู้ในองค์การ ต่างกันอย่างไร มีประโยชน์ต่องค์การอย่างไร
คำตอบ.
ต่างกันคือ เว็บศูนย์ (Enterprise Konwledge Portal) เป็นการบูรราการความรู้ กลไกลการรายงาน และทำงานร่วมกัน ส่วน (Blog หรือ Weblog) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ผ่านพื้นที่ Cyber Space ทั่งสองเว็บนี้มีประโยชน์ต่อองค์การ คือเป็นเว็บที่เผยแพร่ความรู้หรือประสบการณ์ เรื่องเล่า ขององค์การ เป็นต้น

ข้อ 5. ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการจักการความรู้ของงค์การให้ประสบความสำเร็จ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
คำตอบ.
5.1 การที่ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้บริหาร เช่น บริษัท ทรู จะจัดโครงการความรู้ ขึ้นมานั้นต้องได้รับกากรอนุมัติ หรือการสนับสนุนจากผู้บริหารก่อน โครงการถึงจะเริ่มได้

5.2 มีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น บริษัท ทรู กำหนดว่าการจัดทำโครงการความรู้ ขึ้นมาครั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเผยแพร่ความรู้ กับกลุ่มคนในองค์การ
5.3 มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เช่น โครงการความรู้ที่จะจัดขึ้นมานั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องเสนอแนวคิดต่อที่ประชุม หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ ในการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้
5.4 มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ทางบริษัท นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาจัดโครงการความรู้
5.5 ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ เช่น บริษัท ทรู จัดโครงการความรู้ ขึ้นมา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบให้ดี
5.6 มีการวัดผล เช่น โครงการความรู้ที่จัดทำขึ้นมานั้น ทางบริษัท ต้องจัดคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อตรวจสอบ และวัดผลการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้ ให้สามารถที่จะสรุปงานต่อผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง
5.7 มีการพัฒนาการจัดการความรู้สม่ำเสมอ เช่น ทางคณะผู้เกี่ยวข้องกับโครงการความรู้ ต้องช่วยการนำแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อ บริษัท มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ที่กล่าวมาข้าง ต้น เป็นปัจจัยต่อการจัดการความรู้เพื่อที่จะทำให้องค์การ หรือบริษัท ได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และสามารสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับองค์การด้วย

คำถามท้ายบทที่ 12 เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ข้อ 1. เหตุใดองค์การจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
คำตอบ.



ข้อ 2. นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอย่างไร และหากท่านต้องการเป็นนักวิเคราะห์
คำตอบ.



ข้อ 3. ขั้นตอนในการพัฒนาระบและผลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.


ข้อ 4. แรงจูงใจต่อการเลือกแหล่งภายนอกให้มาพัฒนาหรือดูแลระบบสารสนเทศให้กับองค์การมีอะไรบ้าง และวิธีนี้มีข้อพึงระวังอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 5. ท่านคิดว่าปัจัยของการพัฒนาระบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จควรประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.


วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 11 เรื่อง Enterprice Resource Planning : ERP

ข้อ 1. อธิบายความหมายของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การและโครงสร้างของระบบ
คำตอบ.
ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ หรือที่เรียก ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planing เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์การ เช่น การจัดซื้อจักจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
โครงสร้างของระบบ ERP
1. ซอฟต์แวร์โมดูล (Business Application Software Module) ทำหน้าที่หลักในองค์การ แต่ละโมดูลจะทำงานเฉพาะในแต่ละโมดูลนั้นๆ แล้วยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้
2. ฐานข้อมูลรวม (Intergrated Database) ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลรวมได้โดยตรง และ สามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้ ข้อมูลในเรื่องเดียวกันที่ได้จากการประมวลผลของซอฟต์แวร์โมดูลต่างๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน และนำมาเก็บไว้ที่เดียวกัน ทำให้ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ (System Administration Utility) เป็นส่วนที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบ เช่น การคัดลอกสำเนา การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การบริหารเครือข่าย การ(Backup) ข้อมูล
4. ระบบสนันสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยน (Development and Customization) เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนา หรือปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ

ข้อ 2. องค์การจะได้รับประโยชน์และมีความท้าทายอย่างไรในการนำระบบ ERP มาใช้
คำตอบ.
ประโยชน์
- กระบวนการบริหาร ระบบ ERP สามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง ทำให้ผู้บริหารทราบผลการดำเนินงาน และตรวจสอบสถานการณ์การดำเนินงานขององค์การ ระบบ ERP ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทางเดียวกัน
- เทคโนโลยีพื้นฐาน ระบบ ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์การการสร้างมาตรฐานและสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ของระบบงานต่างๆ จะช่วยลดเวลา และจำนวนคนในการทำงาน ลดขั้นตอน และ ค่าใช้จ่าย
- กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์การเข้าด้วยกันช่วยให้ประสานงานทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ความท้าทาย
- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจ และ วัฒนธรรมการทำงานภายในองค์การ
การนำ ERP มาใช้ ผู้ใช้อาจต้องปรับขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้เหมาะสม ความท้าทายก็คือ การค้นหาว่าขั้นตอนการทำงานใดที่สมควรจะควรจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยน และทำการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับ ERP
- การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง
การพัฒนาระบบ ERP จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงตอนเริ่มต้น แต่ยังไม่ได้รับการประเมินประโยชน์ จนกว่าจะมีการนำระบบไปใช้ และบุคลากรมีความชำนาญมากขึ้น มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้จากระบบ
- ความไม่ยืดหยุ่นในการปรับซอฟต์แวร์
ระบบ ERP เป็นระบบที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษา แต่บางครั้งการแก้ไขซอฟต์แวร์มากเกินไปอาจมีความเสี่ยงในการเจอ (Bug) หรือในกรณีที่นำเอาระบบมาใช้งานแล้ว เมื่อความต้องการขององค์การเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซอฟต์แวร์อาจไม่มีความยืดหยุ่นพอเนื่องจาก ผู้ออกแบบซอฟต์แวร์ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า

ข้อ 3. ขั้นตอนในการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.
ขั้นตอนในการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ
1. การศึกษาและวางแนวคิด
ในขั้นแรกจะต้องทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันขององค์การว่ามีความจำเป็นจะต้องนำ ERP มาใช้ในองค์การหรือไม่ ต้องมีการศึกษา และทำความเข้าใจถึงรูปแบบทางธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจปัญหาขององค์การและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว จากนั้นก็รอขั้นตอนขออนุมัติจากผู้บริหารเพื่อให้นำ ERP มาใช้ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็เริ่มทำในขั้นตอนการวางแผนต่อไป
2. การวางแผนนำระบบมาใช้
จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การคัดเลือกระบบ ERP เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ คณะกรรมการจะดำเนินงานเกี่ยวกับการกำหนดลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและขอบข่ายในการนำ ERP มาใช้ทุกส่วนขององค์การ หรือนำมาใช้กับกระบวนการหลัก ๆ ขององค์การ
3. การพัฒนาระบบ
เป็นขั้นตอนที่ลงในรายละเอียดของการพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับองค์การ ประกอบไปด้วยการจัดทำแผนโครงการพัฒนาโดยละเอียด กำหนดงานที่จะต้องทำพร้อมทั้งระบุเวลา และเป้าหมายที่จะได้รับ ทำการสำรวจระบบ
งานปัจจุบันว่าจะต้องปรับปรุง ลดขั้นตอน หรือ เปลี่ยนแปลงงานอย่างไรสรุปความต้องการขององค์การว่ามีความต้องการซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถอะไรบ้าง แล้วกำหนดรูปแบบทางธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจที่น่าจะเป็นและนำกระบวนการนี้มาเปรียบเทียบกับกระบวนการทางธุรกิจที่มีให้เลือกจากซอฟต์แวร์ ERP
4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ ERP ซึ่งจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความชำนาญในการใช้ระบบ มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้จากระบบ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หลังติดตั้งแล้วต้องมีการประเมินผลจากการนำระบบมาใช้เป็นระยะ และนำผลประเมินนั้นมาปรับปรุงระบบต่อไป

ข้อ 4. ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจในการเลือกซอฟต์แวร์ ERP มีอะไรบ้าง และให้ยกตัวอย่างของ ERP ที่มีในท้องตลาดมา 3 ชื่อ
คำตอบ.
ปัจจัยที่ควรพิจารณา
1. การศึกษาและการวางแนวคิด
2. การวางแผนนำระบบมาใช้
3. การพัฒนาระบบ
4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
ซอฟต์ ERP ในท้องตลาด
- IFS Application
- mySAP ERP
- Peoplesoft

ข้อ 5. ความจำเป็นและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการขยายขีดความสามารถของระบบ ERP ให้เชื่อมโยงกับระบบของคู่ค้ามีอะไรบ้าง จงยกตังอย่างประกอบคำอธิบาย
คำตอบ.
องค์การหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับการขยายขีดความสามารถของระบบ ERP จากเดิมที่มีระบบ ERP เป็นแกนหลักของระบบข้อมูล และสนับสนุนการดำเนินงานภายในองค์การ เป็นการขยายขอบเขตให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ

คำถามท้ายบทที่ 10 เรื่อง ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ข้อ 1. อธิบายความหมายของกลยุธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
คำตอบ.
กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริณเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ

ข้อ 2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
คำตอบ.
1) กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
2) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
3) กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)

ข้อ 3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรม
คำตอบ.
กิจกรรมมีดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
- การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
- การบริการ (Services)

2) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resoure Management)
- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)- การจัดหา (Procrument)

ระบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่

ข้อ 4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy) และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.
แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

ข้อ 5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational System : IOS) มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อทูลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์การ
คำตอบ.
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุเพียบพอ และในระดับที่เหมาสอกับความต้อวการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบลง
องค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทำการจัดวัตถุดิบให้ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัติโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ ทั้งองค์การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต

คำถามท้ายบทที่ 8 เรื่อง Executive Support System : ESS

ข้อ 1. อธิบายความหมายของ ESS ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
คำตอบ.
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหาร


ระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน



ข้อ 2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
คำตอบ.
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

ข้อ 3. ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบเป็นอย่างไร
คำตอบ.
1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

ข้อ 4. Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้อย่างไร
คำตอบ.
เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้

ข้อ 5. ESS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ.
1. ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ

2. ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง

3. ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย



คำถามท้ายบทที่ 7 เรื่อง DSS

ข้อ 1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
คำตอบ.
DSS : Decision Support System คือระบบที่นำมาช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้กำหนดแนวทางในการจัดการไว้ล่วงหน้าชัดเจน

1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบ แยกแยะ กำหนดรายละเอียดของปัญหา
2. การออกแบบ (Design) การพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ อาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา ออกแบบหนทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
3. การคัดเลือก (Choice) เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด อาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่าย ผลตอบแทนแต่ละแนวทาง เพื่อให้ได้ทางที่ดีที่สุด
4. การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ ติดตามผลการปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่าดำเนินงานมีประสิทธิภาพ หรือขัดข้องประการใด

ข้อ 2. ลักษณะและความสมารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.


ข้อ 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์และแตกต่างจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในด้านการบริการลูกค้าได้อย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
คำตอบ.