วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

เคล็ดวิธี Boot เข้าวินโดวส์ อย่างฉับไว

เคล็ดวิธี Boot เข้าวินโดวส์ อย่างฉับไว
ความต้องการอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนอยากได้นั่นก็คือ การใช้เวลาให้น้อยที่สุดหลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จนกระทั่งเริ่มใช้งานได้ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนที่เป็น Windows 9x จะใช้เวลาในการบูตเข้าวินโดวส์นานมาก และก็ได้มีการพัฒนาในการลดความเร็วในการบูตเข้าสู่วินโดวส์เมื่อเป็น Windows ME และในที่สุด Windows XP ก็สามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้เร็วกว่า แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็บูตช้าเหมือนเดิมอีก ฉบับนี้เราจะมาดูวิธีการแก้ไข โดยจะอิงการใช้งานกับ Windows XP

ความต้องการอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนอยากได้นั่นก็คือ การใช้เวลาให้น้อยที่สุดหลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จนกระทั่งเริ่มใช้งานได้ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนที่เป็น Windows 9x จะใช้เวลาในการบูตเข้าวินโดวส์นานมาก และก็ได้มีการพัฒนาในการลดความเร็วในการบูตเข้าสู่วินโดวส์เมื่อเป็น Windows ME และในที่สุด Windows XP ก็สามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้เร็วกว่า แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็บูตช้าเหมือนเดิมอีก ฉบับนี้เราจะมาดูวิธีการแก้ไข โดยจะอิงการใช้งานกับ Windows XP

การอัพเกรดไบออส
ไบออสคือโปรแกรมเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กตามโปรแกรม ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ การอัพเกรดไบออสของคอมพิวเตอร์ให้ได้โปรแกรมที่ใหม่ที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้การทำงานของเมนบอร์ดดีขึ้น และบางครั้งอาจทำให้บูตเร็วขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนการอัพเกรดไบออสนั้นให้ดูที่คู่มือเมนบอร์ดว่าใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ ก็ไปที่ส่วนดาวน์โหลด โดยจะต้องดาวน์โหลดทั้งไฟล์ที่ใช้ในการแฟลชไบออส และไฟล์โปรแกรมของไบออส เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้แตกไฟล์ออกมา โดยจะเอาไว้เก็บที่ดีที่สุดคือที่รูทของ C: จากนั้นให้บูตจากแผ่นดิสก์แล้วกด Shift + F5 ตอนบูตเพื่อที่จะได้บูตแบบไม่ได้โหลดอะไรมาเลย แล้วที่ดอสพร็อมพ์ ให้พิมพ์ C: แล้วกด Enter เพื่อเข้าไดรฟ์ C: แล้วพิมพ์ execute.exe bios.img โดย execute.exe จะแทนชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการแฟลช ให้พิมพ์ให้ตรงกับชื่อโปรแกรม bios.img จะแทนตัวไฟล์ของโปรแกรม โดยพิมพ์ให้ตรงกับชื่อ จากนั้นกดคีย์ Enter อาจจะมีการถามว่าต้องการแฟลชจริงหรือไม่? ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแฟลช ใช้เวลาระยะหนึ่งก็เสร็จ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะถ้ามีการผิพลาด เช่น ไฟฟ้าดับ ก็อาจทำให้เมนบอร์ดเสียไปได้ ดังนั้น ถ้ามี UPS ก็คงจะดี เมื่อแฟลชเสร็จแล้วก็ให้รีบูตใหม่ ถ้าบูตเข้าก็แสดงว่าแฟลชเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเวอร์ชันและวันที่ของไบออสที่ได้แฟลชเข้าไปใหม่ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนไป
ปรับแต่งไบออส
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไบออสเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่สุดที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การเข้าไปปรับแก้เกี่ยวกับไบออสก็จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้บูตเร็วขึ้นได้
ขั้นตอนการเข้าไปแก้ไขไบออส ให้กดคีย์ Delete หลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คีย์ Delete อยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็ลองมองดูที่หน้าจอตอนบูตว่าต้องกดคีย์อะไรเพื่อเข้าไปแก้ไขไบออส หลังจากเข้าไปสู่หน้าไบออสเซตอัพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือล้วนๆ ให้เข้าไปหาสิ่งต่อไปนี้แล้วแก้ไขตาม
- Turbo Frequency ให้เลือก ENABLE คำสั่งนี้ไม่ได้มีทุกเมนบอร์ด แต่ถ้ามีก็ให้เอนเนเบิลไว้ จะทำให้ความเร็วบัสเร็วขึ้นประมาณ 2.5% ซึ่งจะทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบเร็วขึ้น (เป็นการโอเวอร์คล็อกแบบไม่มากนัก)
- IDE Hard Disk Detection สั่งให้ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม จากนั้นก็บันทึกลงไบออส จะทำให้ความเร็วในการบูตเร็วขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับที่การตั้งเป็น Auto แล้วต้องตรวจสอบทุกครั้งที่บูต

- Standard BIOS Setup Menu เข้าไปเช็คดูอีกครั้งว่าฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไม่ได้อยู่ในภาวะที่เป็น Auto
- Quick Power On Self Test (POST) ให้ ENABLE ไว้จะทำให้บูตเร็วขึ้น
- Boot Sequence ให้เลือกเป็น C นำหน้า ถ้าไม่ต้องการบูตจากแผ่นดิสก์ จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มบูตจากแผ่นดิสก์ก่อน
- Boot Up Floppy Seek ให้ DISABLE ไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแผ่นตอนเริ่มบูต
ลดโปรแกรมที่โหลดตอนเริ่มต้นบูตเข้าวินโดวส์
ขั้นตอนนี้แหละที่ลดโปรแกรมที่ขึ้นมาเป็นแผงที่ทาส์กบาร์ ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาในการบูตและเสียทรัพยากรของเครื่องโดยที่บางครั้งเราไม่ได้ใช้มัน ปกติโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ในหลายๆ ที่ เช่น ในรีจิสทรี ใน Startup การเข้าไปลบ ถ้าต้องเข้าลบตรงๆ ก็อาจจะเสียเวลา แต่วินโดวส์ก็ได้ให้ทูลในการเข้ามาช่วย นั่นคือโปรแกรม System Configuration Utility หรือที่รู้จักในชื่อ MsConfig
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมให้ไปที่ Start - Run แล้วพิมพ์ msconfig จากนั้นกด Enter

หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วให้ไปที่แท็บ Startup ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโปรแกรมทั้งหมดที่โหลดขึ้นมาตอนเข้าวินโดวส์ ไม่ว่าจะเขียนไว้ที่ไหน ตรงนี้เราสามารถพอเดาชื่อโปรแกรมได้ ถ้าไม่ต้องการโปรแกรมใดก็เอาเครื่องหมายถูกข้างหน้าโปรแกรมออก เช่น ICQ, HotSync Manager, MSN Messenger ซึ่งเราไม่ได้มีความเป็นต้องโหลดทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
หลังจากเลือกโปรแกรมที่ไม่ต้องการออกแล้วให้กด OK ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่า จะรีตาร์ทเลยหรือไม่? ตรงนี้แล้วแต่ว่าจะทำงานต่อหรือจะรีสตาร์ทเลยก็ได้ หลังรีสตาร์ทเข้ามาวินโดวส์แล้วจะไม่มีโปรแกรมเหล่านี้โหลดขึ้นอีก
เอาเซอร์วิสที่ไม่จำเป็นออก
เซอร์วิสจะเป็นส่วนของโปรแกรมที่ทำหน้าที่ต่างๆ ของวินโดวส์ โดยทำงานอยู่แบ็กกราวนด์ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่เห็นโปรแกรม แต่เซอร์วิสเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาในการเปิดตอนเปิดเข้าวินโดวส์เหมือนกัน และก็จะใช้ทรัพยากรของเครื่องไป บางเซอร์วิสเป็นสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็เปิดขึ้นมาหมดด้วย ดังนั้น การเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ก็จะเป็นการลดเวลาในการบูตและประหยัดทรัพยากรของเครื่องไปได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ให้ไปที่ System Configuration Utility แล้วไปที่แท็บ Services กดเลือก Hide all microsoft services ออกก่อน ก็จะเหลือแต่เซอร์วิสที่เป็นโปรแกรมที่เราติดตั้งลงไปใหม่ ให้เลือกเอาส่วนที่คิดว่าไม่ต้องการออก แล้วกดปุ่ม Apply ส่วนเซอร์วิสของไมโครซอฟท์ซึ่งมีอยู่มากมายนั้น คงจะต้องเข้าไปอ่านกันเองนะครับ ว่าจะใช้ตัวไหน ตัวไหนไม่ใช้ โดยเข้าไปที่ Services แล้วเลือก Start - Run ให้พิมพ์ Services.msc ก็จะมีโปรแกรมขึ้นมา ที่นี่จะมีเซอร์วิสทุกตัวให้อ่านกันจนตาลายเลยก็ว่าได้










เอาโลโก้ตอนบูตออก

เราสามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้ โดยเอาโลโก้ตอนบูตออก แต่จะเพิ่มความเร็วได้เล็กน้อย วิธีการให้เข้า System Configuration Utility เลือก boot.ini เลือกบรรทัดที่มี /fastdetect แล้วเลือก /NOGUIBOOT เสร็จแล้วกดปุ่ม OK เราสามารถยกเลิกได้โดยการติ๊กเอาเครื่องหมายถูกออก



การลดการค้นหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง

บางครั้งวินโดวส์ของคุณมีอาการบูตช้ากว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะวินโดวส์พยายามหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ในกรณีที่ Primary IDE ของคุณมีฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว แต่วินโดวส์จะพยายามหาฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ขณะที่กำลังบูต ทำให้เสียเวลาเพิ่มในการบูต
วิธีการแก้ไข ให้เข้าไปที่ Device Manager แล้วไปที่ IDE/ATAPI Controllers เลือกที่ Primary IDE คลิ้กขวาแล้วเลือก Properties จะมี หน้าต่าง properties (รูปตัวอย่างทางซ้าย) ขึ้นมาให้ไปที่แท็บ Advanced Settings ที่ช่อง Device 1 ซึ่งในที่นี้คือไดรฟ์ตัวที่ 2 บน IDE 1 ซึ่งไม่มีอยู่จริง ให้แก้ที่ Device type เป็น none (รูปตัวอย่างทางขวา) แล้วกดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน ถ้าที่ Secondary IDE มีไดรฟฺที่ว่างอยู่ก็ให้ทำอย่างนี้ด้วย

















เคล็ดลับจากหนังสือ : Computer Today

ภาพยนตร์ส่งตรงถึงบ้านผ่านอินเทอร์เน็ต

Netflix และ LG ร่วมมือให้บริการภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต

Netflix ผู้ให้บริการเช่าภาพยนตร์ออนไลน์ใหญ่ที่สุดในโลกร่วมมือกับ LG Electronics ผู้ผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำจากเกาหลีประกาศความร่วมมือในการพัฒนาอุปกรณ์เซตทอปบ็อกซ์สำหรับผู้ใช้ตามบ้านสำหรับรับชมภาพยนตร์ และรายการต่างๆ แบบสตรีมมิงผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ความละเอียดสูงหรือ HDTV โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการรับขมบริการส่งตรงความบันเทิงถึงบ้านแบบออนไลน์นี้จะใช้เทคโนโลยีที่ฝังอยู่ในเครื่องเล่นของ LG ที่จะวางตลาดครึ่งหลังของปี 2008 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานความยืดหยุ่นในการใช้งาน และ ความสะดวกสบาย
ความร่วมมือดังกล่าวได้รับแรงส่งเสริมจากจุดแข็งของ Netflix ที่ได้นำเสนอบริการแบบผสมผสาน หลายมิติ หรือ "hybrid" ที่ทำให้สมาชิกกว่า 7 ล้านรายได้รับชมภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ได้ด้วยค่าบริการที่ต่ำ โดยผู้ชมสามารถรับชมภาพยนต์คุณภาพระดับความละเอียดสูง
ที่มา : eHomeUpgrade
อนาคตอยู่บ้านดูหนังก็ได้นะ

Windows XP ทำฮาร์ดดิสก์หายไปหลายกิ๊ก

Windows XP ทำฮาร์ดดิสก์หายไปหลายกิ๊ก

คนโพสชื่อนายเกาเหลาครับ

เพื่อนนายเกาเหลาคนหนึ่งมีปัญหาว่า หลังจากประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ซึ่งได้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ตัวเขื่องที่มีขนาดถึง 500 กิกะไบต์เข้าไป โดยเลือกใช้เป็นระบบ NTFS และไม่แบ่งพาร์ทิชันปรากฏว่า Windows XP แจ้งว่า ฮาร์ดดิสก์ในระบบมีขนาดเพียง 127 กิกะไบต์เท่านั้น โอ้ว...มันหายไปไหนตั้ง 373 กิกะไบต์!!!
จากปัญหาที่ได้ยินมานี้ มันมีโอกาสเกิดได้จากหลายสาเหตุอยู่เหมือนกัน ประการแรกเลย มันอาจเกิดจากข้อจำกัดใน Windows XP SP1 ที่ป้องกันให้ Windows เห็นฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่สุดได้เพียง 127 กิกะไบต์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ได้แก้ไขแล้วใน SP2 ดังนั้น หากเพื่อนนายเกาเหลาคนนี้ติตดั้ง SP2 เข้าไป ฮาร์ดดิสก์ที่หายไปก็น่าจะกลับมา
แต่ถ้าไม่ใช่ปัญหาข้างต้น สาเหตุอาจจะมาจากเมนบอร์ดก็ได้ ซึ่งอาจไม่สนับสนุนไดรฟ์ที่มีขนาดมากกว่า 127 กิกะไบต์ โดยปกติปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ด้วยการอัพเกรด BIOS แต่คงจะต้องเข้าไปตรวจสอบจากเว็บไซต์ผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม หากไม่พบ เพื่อนๆ ก็อาจจะต้องเข้าไปหาคำตอบในเว็บไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์
สำหรับทางเลือกในการแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจจะเป็นทางแก้สุดท้าย เพื่อให้ได้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์กลับคืนมา นั่นก็คือ การแบ่งพาร์ทิชัน โดยสามารถแบ่งได้ด้วยโปรแกรม Disk Management (คลิ้กปุ่ม Start เลือกคำสั่ง Run แล้วพิมพ์คำสั่ง diskmgmt.msc) คลิ้กขวาบน Unalocated Space แล้วเลือก New Partition เลือกออปชัน Extended Partition เพื่อนๆ อาจจะทำขั้นตอนนี้ซ้ำอีก 2 ครั้ง เพื่อให้ได้พื้นที่ดิสก์กลับมาทั้งหมด พร้อมทั้งกำหนดชื่อไดรฟ์ให้กับแต่ละพาร์ทิชัน และทั้งสามวิธีนี้คือ คำตอบที่นายเกาเหลามีให้กับเพื่อนคนนี้ครับ


ข้อมูลหน้าสนใจนี้ได้มาจาก
http://www.arip.co.th/
จึงนำมาเผยแผ่ให้เพื่อน ๆ ได้ทราบไว้เป็นวิทยาทาน