วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 14 เรื่อง จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศ

ข้อ 1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
คำตอบ.
คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเองเช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

ข้อ 2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมีวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
คำตอบ.
คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

ข้อ 3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย

3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

ข้อ 4. ท่านคิดว่าปัญหาในเรื่องความปลอดภัยใดบ้างที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในองค์การธุรกิจ และจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขปัญหานั้นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
คำตอบ.
คือ ปัญหาในเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นโดยป้องกันปัญหานั้น คือ ควรมีระบบตรวจสอบการเข้าใช้ เพื่อทำการอนุญาตการใช้ระบบนั้น เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามอ ลายเซ็น และรูปหน้า เป็นต้น โดยอุปกรณ์จะทำการแปลงลักษณะส่วนบุคคลให้อยู่ในรูปของดิจิทัล แล้วทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ก็จะปฏิเสธการเข้าสู่ระบบ

ข้อ 5. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
คำตอบ.
คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

ข้อ 6. จากเหตุการณ์ต่อไปนี้ จงตอบคำถาม
ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทแห่งหนึ่งได้สอดส่องการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานบริษัท และพบว่ามีพนักงานจำนวนมากใช้ระบบของบริษัทเพื่องานส่วนตัวข้อความบางส่วนที่ตรวจพบเป็นจดหมายรักบ้าง เป็นข้อมูลการดูแลผลการแข่งขันฟุตบอลบ้าง ดังนั้นผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยท่านนี้จึงได้เตรียมทำรายงานชื่อพนักงานเหล่านั้น พร้อมตัวอย่างข้อความที่ใช้งานกันเพื่อให้กับฝ่ายบริหารต่อไป ผู้จัดการฝ่ายบางคนก็ลงโทษพนักงานในฝ่ายของตนที่ใช้อีเมลในงานส่วนตัว ในขณะที่ฝ่ายพนักงานได้เรียกร้องในเรื่องความเป็นส่วนตัวของการใช้งานระบบอีเมลของบริษัท

6.1 ท่านคิดว่าการที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการฝ่ายสอดส่องเฝ้าดูการใช้อีเมลของพนักงานนั้นเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
คิดว่าการสอดส่องของผู้บริหารฝ่ายจัดการข้อมูลนั้น ได้ผิดจริยธรรม เพราะว่าพนักงานถึงจะใช้ระบบอีเมล์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใช้ในเวลาทำงาน หรือว่าเวลาว่างไม่ควรด่าว่าให้กับพนักงาน

6.2 การใช้อีเมลเพื่อการสื่อสารส่วนตัวของพนักงานเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ จงให้เหตุผลประกอบ
คำตอบ.
การใช้อีเมล์เพื่อการสื่อสารส่านตัวของพนักงาน คิดว่า ไม่ผิดจริยธรรม เพราะว่าการใช้อีเมล์ของพนักงาน นอกจากที่ได้กล่าวไว้แล้ว อาจใช้ติดต่อกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวก็ได้


6.3 การที่ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศส่งรายชื่อพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้ให้กับผู้บริหารเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การที่ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยได้ส่งรายชื่อพนักงานให้กับผู้บริหาร ไม่ผิดจริยธรรม แต่การทำงานร่วมกันควรตักเตือนก่อนหรือให้คำชี้แนะที่ดีแก่พนักงานเหล่านั้น

6.4 การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรม เพราะว่า การลงโทษพนักงานที่ทำงานมาด้วยกัน ไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี นั้น อาจทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงานก็ได้ และพนักงานบางคนอาจลาออกจากงาน ก็จะส่งผลกระทบในตำแหน่งงานนั้นด้วยตามมา

6.5 ท่านคิดว่าบริษัทควรดำเนินการเช่นใดเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ถูกต้อง
คำตอบ.
คิดว่าบริษัทควรแก้ไขในการดำเนินครั้งนี้ คือ ควรจัดการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมดในเรื่องของการใช้อีเมล์ และกำหนดให้ใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูก


คำถามท้ายบทที่ 13 เรื่อง Knowledge Management : KM

ข้อ 1. สารสนเทศกับความรู้คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ.
สารสนเทศกับความรู้ต่างกัน คือ ความรู้คือการผสมผสานของประสบการณ์ ส่วนสารสนเทศ คือ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่สามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ๆ ได้

ข้อ 2. การจัการความรู้ความสำคัญต่อองค์การในปัจจุบันอย่างไร
คำตอบ.
เป็นกระบวนการที่เป้ฯระบบ หมวดหมู่ ง่ายต่อการสรรหา การเลือก การรวบรวมจัดระบบที่คนในองค์การสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อที่จะพัฒนาตนองให้มีความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ

ข้อ 3. เทคโนโลยีสารสนเทศมีการถูกนำไปใช้ในการจดการความรู้ได้อย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

3.2 การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
3.3 เป็นการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
3.4 เป็นระบบประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์
3.5 การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย
3.6 การสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
3.7 การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์

ข้อ 4. เว็บศูนย์รวม (Enterprise Knowledge Portal) และบล็อก (Blog และ Weblog) สำหรับการจัดการความรู้ในองค์การ ต่างกันอย่างไร มีประโยชน์ต่องค์การอย่างไร
คำตอบ.
ต่างกันคือ เว็บศูนย์ (Enterprise Konwledge Portal) เป็นการบูรราการความรู้ กลไกลการรายงาน และทำงานร่วมกัน ส่วน (Blog หรือ Weblog) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ผ่านพื้นที่ Cyber Space ทั่งสองเว็บนี้มีประโยชน์ต่อองค์การ คือเป็นเว็บที่เผยแพร่ความรู้หรือประสบการณ์ เรื่องเล่า ขององค์การ เป็นต้น

ข้อ 5. ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการจักการความรู้ของงค์การให้ประสบความสำเร็จ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
คำตอบ.
5.1 การที่ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้บริหาร เช่น บริษัท ทรู จะจัดโครงการความรู้ ขึ้นมานั้นต้องได้รับกากรอนุมัติ หรือการสนับสนุนจากผู้บริหารก่อน โครงการถึงจะเริ่มได้

5.2 มีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น บริษัท ทรู กำหนดว่าการจัดทำโครงการความรู้ ขึ้นมาครั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเผยแพร่ความรู้ กับกลุ่มคนในองค์การ
5.3 มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เช่น โครงการความรู้ที่จะจัดขึ้นมานั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องเสนอแนวคิดต่อที่ประชุม หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ ในการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้
5.4 มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ทางบริษัท นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาจัดโครงการความรู้
5.5 ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ เช่น บริษัท ทรู จัดโครงการความรู้ ขึ้นมา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบให้ดี
5.6 มีการวัดผล เช่น โครงการความรู้ที่จัดทำขึ้นมานั้น ทางบริษัท ต้องจัดคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อตรวจสอบ และวัดผลการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้ ให้สามารถที่จะสรุปงานต่อผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง
5.7 มีการพัฒนาการจัดการความรู้สม่ำเสมอ เช่น ทางคณะผู้เกี่ยวข้องกับโครงการความรู้ ต้องช่วยการนำแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อ บริษัท มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ที่กล่าวมาข้าง ต้น เป็นปัจจัยต่อการจัดการความรู้เพื่อที่จะทำให้องค์การ หรือบริษัท ได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และสามารสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับองค์การด้วย

คำถามท้ายบทที่ 12 เรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ข้อ 1. เหตุใดองค์การจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
คำตอบ.



ข้อ 2. นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอย่างไร และหากท่านต้องการเป็นนักวิเคราะห์
คำตอบ.



ข้อ 3. ขั้นตอนในการพัฒนาระบและผลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.


ข้อ 4. แรงจูงใจต่อการเลือกแหล่งภายนอกให้มาพัฒนาหรือดูแลระบบสารสนเทศให้กับองค์การมีอะไรบ้าง และวิธีนี้มีข้อพึงระวังอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 5. ท่านคิดว่าปัจัยของการพัฒนาระบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จควรประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.


วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 11 เรื่อง Enterprice Resource Planning : ERP

ข้อ 1. อธิบายความหมายของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การและโครงสร้างของระบบ
คำตอบ.
ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ หรือที่เรียก ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planing เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์การ เช่น การจัดซื้อจักจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
โครงสร้างของระบบ ERP
1. ซอฟต์แวร์โมดูล (Business Application Software Module) ทำหน้าที่หลักในองค์การ แต่ละโมดูลจะทำงานเฉพาะในแต่ละโมดูลนั้นๆ แล้วยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้
2. ฐานข้อมูลรวม (Intergrated Database) ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลรวมได้โดยตรง และ สามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้ ข้อมูลในเรื่องเดียวกันที่ได้จากการประมวลผลของซอฟต์แวร์โมดูลต่างๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน และนำมาเก็บไว้ที่เดียวกัน ทำให้ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
3. ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ (System Administration Utility) เป็นส่วนที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบ เช่น การคัดลอกสำเนา การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การบริหารเครือข่าย การ(Backup) ข้อมูล
4. ระบบสนันสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยน (Development and Customization) เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนา หรือปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ

ข้อ 2. องค์การจะได้รับประโยชน์และมีความท้าทายอย่างไรในการนำระบบ ERP มาใช้
คำตอบ.
ประโยชน์
- กระบวนการบริหาร ระบบ ERP สามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง ทำให้ผู้บริหารทราบผลการดำเนินงาน และตรวจสอบสถานการณ์การดำเนินงานขององค์การ ระบบ ERP ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทางเดียวกัน
- เทคโนโลยีพื้นฐาน ระบบ ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์การการสร้างมาตรฐานและสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ของระบบงานต่างๆ จะช่วยลดเวลา และจำนวนคนในการทำงาน ลดขั้นตอน และ ค่าใช้จ่าย
- กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์การเข้าด้วยกันช่วยให้ประสานงานทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ความท้าทาย
- การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจ และ วัฒนธรรมการทำงานภายในองค์การ
การนำ ERP มาใช้ ผู้ใช้อาจต้องปรับขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้เหมาะสม ความท้าทายก็คือ การค้นหาว่าขั้นตอนการทำงานใดที่สมควรจะควรจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยน และทำการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับ ERP
- การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง
การพัฒนาระบบ ERP จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงตอนเริ่มต้น แต่ยังไม่ได้รับการประเมินประโยชน์ จนกว่าจะมีการนำระบบไปใช้ และบุคลากรมีความชำนาญมากขึ้น มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้จากระบบ
- ความไม่ยืดหยุ่นในการปรับซอฟต์แวร์
ระบบ ERP เป็นระบบที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษา แต่บางครั้งการแก้ไขซอฟต์แวร์มากเกินไปอาจมีความเสี่ยงในการเจอ (Bug) หรือในกรณีที่นำเอาระบบมาใช้งานแล้ว เมื่อความต้องการขององค์การเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซอฟต์แวร์อาจไม่มีความยืดหยุ่นพอเนื่องจาก ผู้ออกแบบซอฟต์แวร์ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า

ข้อ 3. ขั้นตอนในการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.
ขั้นตอนในการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ
1. การศึกษาและวางแนวคิด
ในขั้นแรกจะต้องทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันขององค์การว่ามีความจำเป็นจะต้องนำ ERP มาใช้ในองค์การหรือไม่ ต้องมีการศึกษา และทำความเข้าใจถึงรูปแบบทางธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจปัญหาขององค์การและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว จากนั้นก็รอขั้นตอนขออนุมัติจากผู้บริหารเพื่อให้นำ ERP มาใช้ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็เริ่มทำในขั้นตอนการวางแผนต่อไป
2. การวางแผนนำระบบมาใช้
จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การคัดเลือกระบบ ERP เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ คณะกรรมการจะดำเนินงานเกี่ยวกับการกำหนดลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและขอบข่ายในการนำ ERP มาใช้ทุกส่วนขององค์การ หรือนำมาใช้กับกระบวนการหลัก ๆ ขององค์การ
3. การพัฒนาระบบ
เป็นขั้นตอนที่ลงในรายละเอียดของการพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับองค์การ ประกอบไปด้วยการจัดทำแผนโครงการพัฒนาโดยละเอียด กำหนดงานที่จะต้องทำพร้อมทั้งระบุเวลา และเป้าหมายที่จะได้รับ ทำการสำรวจระบบ
งานปัจจุบันว่าจะต้องปรับปรุง ลดขั้นตอน หรือ เปลี่ยนแปลงงานอย่างไรสรุปความต้องการขององค์การว่ามีความต้องการซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถอะไรบ้าง แล้วกำหนดรูปแบบทางธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจที่น่าจะเป็นและนำกระบวนการนี้มาเปรียบเทียบกับกระบวนการทางธุรกิจที่มีให้เลือกจากซอฟต์แวร์ ERP
4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ ERP ซึ่งจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความชำนาญในการใช้ระบบ มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้จากระบบ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ หลังติดตั้งแล้วต้องมีการประเมินผลจากการนำระบบมาใช้เป็นระยะ และนำผลประเมินนั้นมาปรับปรุงระบบต่อไป

ข้อ 4. ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจในการเลือกซอฟต์แวร์ ERP มีอะไรบ้าง และให้ยกตัวอย่างของ ERP ที่มีในท้องตลาดมา 3 ชื่อ
คำตอบ.
ปัจจัยที่ควรพิจารณา
1. การศึกษาและการวางแนวคิด
2. การวางแผนนำระบบมาใช้
3. การพัฒนาระบบ
4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
ซอฟต์ ERP ในท้องตลาด
- IFS Application
- mySAP ERP
- Peoplesoft

ข้อ 5. ความจำเป็นและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการขยายขีดความสามารถของระบบ ERP ให้เชื่อมโยงกับระบบของคู่ค้ามีอะไรบ้าง จงยกตังอย่างประกอบคำอธิบาย
คำตอบ.
องค์การหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับการขยายขีดความสามารถของระบบ ERP จากเดิมที่มีระบบ ERP เป็นแกนหลักของระบบข้อมูล และสนับสนุนการดำเนินงานภายในองค์การ เป็นการขยายขอบเขตให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ

คำถามท้ายบทที่ 10 เรื่อง ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ข้อ 1. อธิบายความหมายของกลยุธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
คำตอบ.
กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริณเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ

ข้อ 2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
คำตอบ.
1) กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
2) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
3) กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)

ข้อ 3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรม
คำตอบ.
กิจกรรมมีดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
- การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
- การบริการ (Services)

2) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resoure Management)
- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)- การจัดหา (Procrument)

ระบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่

ข้อ 4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy) และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.
แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

ข้อ 5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational System : IOS) มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อทูลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์การ
คำตอบ.
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุเพียบพอ และในระดับที่เหมาสอกับความต้อวการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบลง
องค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทำการจัดวัตถุดิบให้ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัติโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ ทั้งองค์การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต

คำถามท้ายบทที่ 8 เรื่อง Executive Support System : ESS

ข้อ 1. อธิบายความหมายของ ESS ระบบนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
คำตอบ.
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อสันบสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ ESS เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหารและตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถประสงค์ และเป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว นอกจากนี้ระบบยังช่วนอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหาร


ระบบ ESS บางครั้งเรียกว่าระบบ EIS ซึ่งเป็นระบบที่ให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงเช่นกันแต่ระบบ ESS ระรวมความสามารถเพิ่มเติมด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการและการจัดลำดับงาน



ข้อ 2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
คำตอบ.
ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรองและคัดเลือกก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้งในเชืงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

ข้อ 3. ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบเป็นอย่างไร
คำตอบ.
1. ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
3. เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
4. สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
6. มีระบบรักษาความปลอดภัย

ข้อ 4. Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้อย่างไร
คำตอบ.
เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การได้

ข้อ 5. ESS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ.
1. ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ

2. ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง

3. ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย



คำถามท้ายบทที่ 7 เรื่อง DSS

ข้อ 1. อธิบายความหมายและองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
คำตอบ.
DSS : Decision Support System คือระบบที่นำมาช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้กำหนดแนวทางในการจัดการไว้ล่วงหน้าชัดเจน

1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบ แยกแยะ กำหนดรายละเอียดของปัญหา
2. การออกแบบ (Design) การพัฒนาวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ อาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา ออกแบบหนทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
3. การคัดเลือก (Choice) เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด อาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่าย ผลตอบแทนแต่ละแนวทาง เพื่อให้ได้ทางที่ดีที่สุด
4. การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ ติดตามผลการปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่าดำเนินงานมีประสิทธิภาพ หรือขัดข้องประการใด

ข้อ 2. ลักษณะและความสมารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
คำตอบ.


ข้อ 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์และแตกต่างจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในด้านการบริการลูกค้าได้อย่างไร จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
คำตอบ.


คำถามท้ายบทที่ 6 เรื่อง บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ

ข้อ 1.ระบบสารสนเทศมีผลกระทบการทำงานและโครสร้างขององค์การอย่างไร
คำตอบ.


ข้อ 2. องค์การเสมือนจริงมีลักษณะอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์การโดยทั่วไป
คำตอบ.


ข้อ 3. ระบบสารสนเทศสามารถถูกจัดดป็นประเภทใดบ้าง อธิบายและยกตัวอย่างระบบสารสนเทศในแต่ละประเภท
คำตอบ.

ข้อ 4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS) แตกต่างจากระบบสารสนเทศการประมวลผลธุรกรรม (TPS) อย่างไร
คำตอบ.

ข้อ 5. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบ TPS, OIS, MIS, DSS, และ EIS
คำตอบ.

คำถามท้ายบทที่ 5 เรื่อง Internet และ E-Commerce

ข้อ 1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
คำตอบ.
Instant Messaging : IM คือ โปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อความ, ตัวอักษร, ภาพนิ่ง,
ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์มัลติมีเดีย หรือคุยตอบโต้กันได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้ เนื่องเป็นการส่ง
ข้อความแบบ Real-Time ทำให้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายใช้แทนการใช้โทรศัพท์ได้ และยัง
สามารถส่งงาน หรือเอกสารได้ ทำให้ช่วยสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจไปได้โดยง่าย

ข้อ 2. E-Commerce แตกต่างจาก E-Bussiness อย่างไ
คำตอบ.
E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Bussiness คือ E-Bussiness จะมีการดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

ข้อ 3. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
คำตอบ.
ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างที่มุ้งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ผู้ผลิต-ผู้นำเข้า และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง

ธุรกิจกับลูกค้า (B2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคนอาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง

ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่การประมูลออนไลน์ (E-Auction) และการจัดซื้อจัดจ้าง (E-Procurement)

ลูกค้ากับลูกค้า (C2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนและซื้อ-ขายสินค้าอาจทำผ่าน Website

ข้อ 4. จงยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาอย่างละ 5 ข้อ
คำตอบ.


ข้อ 5. Internet ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
คำตอบ.
เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก

ข้อ 6. Internet มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
คำตอบ.
มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย

ข้อ 7. ในยุคความเจริญของ internet ความเร็วสูง การจำหน่าย softeware ในรูปแบบของ CD-Rom น่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการ download ผ่านทาง internet แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจำหน่าย software ในรูปของ CD-Rom ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
คำตอบ.
คงเป็นความไม่มั่นใจของ File ที่ Download มาแล้วนั้นจะไม่สมบูรณ์แล้วต้องทำการ Download ใหม่เป็นการเสียเวลาจึงทำให้ส่วนใหญ่ CD-Rom ยังเป็นที่นิยมของการจำหน่าย Software ในปัจจุบันนี้

คำถามท้ายบทที่ 4 เรื่อง การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ข้อ 1. จงอธิบ่ายความหมายของคำต่อไปนี้
1) โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
2) การและเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) คือ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐาน
3) บลูทูธ (BlueTooth) เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การส่งข็อมูลทางคลื่นวิทยุ ใช้ความถี่ที่ 2.45GHz ซึ่งทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถือเคลื่อนย้ายได้ สามารถติดต่อเชื่อมโยงสื่อสารแบบไร้สารระหว่างกันในช่วงระยะห่างสั่น ๆ ได้

ข้อ 2.จงอธิบายเปรียบเทียบมาตรฐานการสื่อสารและเครือข่าย การนำไปใช้งานระหว่าง PAN, LAN, MAN และ WAN
คำตอบ.
PAN เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล เป็นเครือข่ายสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน
LAN เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น ระยะการเชื่อมต่อไม่เกิน 10 กิโลเมตร ความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps ส่วนมากใช้ในองค์การ สำนักงาน
MAN เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล หรือทั้งอำเภอได้เป็นการเชื่อมต่อของระบบ LAN หลาย ๆ ระบบร่วมกัน
WAN เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่มากครอบคลุมเครือข่ายทั้งหมดของระบบ LAN และ MAN พื้นที่ของเครือข่ายระบบ WAN สามารถครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลก



ข้อ 3. จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มา 3 ตัวอย่าง
คำตอบ.


ข้อ 4. ไวแม็กซ์ต่างจากไวไฟอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.
Wi-MAX เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระดับบรอดแบรนด์ โดยสามารถส่งข้อมูลกระจายสัญญาณจากจุดหนึ่งไปหลายจุดได้พร้อม ๆ กัน มีรัศมีกว้างถึง 50 กิโลเมตร
Wi-Fi เป็นเทคโนโลยี internet ไร้สายความเร็วสูง ใช้สัญญาณวิทยุในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สายจากบริเวณที่มีการติดตั้ง Access Point ไปยังอุปกรณ์เชื่อมต่อ

ข้อ 5. จงอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้ในเครือข่ายส่วนบุคคลแบบไร้สาย (Wireless PAN หรือ WPAN) ที่บ้านและท่านจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้างในการเชื่อมต่อเครือข่ายนี้
คำตอบ.
- Wireless Keyboard
- Wireless Mouse
- PDA
- โทรศัพท์เคลื่อนที่
- Computer
- Printer

ข้อ 6. จงยกตัวอย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายมา 2 ตัวอย่าง
คำตอบ.
- Bluetooth จะเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นเพราะด้วยความที่พกพาสะดวก
- Wi-Fi อนาคตของการให้บริการจะกว้างขวางมากขึ้น โดยสถานที่ที่พบปะกันของนักธุรกิจ พนักงานบริษัท หรือสถานที่การเดินทางต่าง ๆ

คำถามท้ายบทที่ 3 เรื่อง ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล


ข้อ 1. จากภาพที่กำหมดให้ จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
คำตอบ.
1) ฐานข้อมูล (Database) คือ ที่เก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน โดยมีระบบการจัดการข้อมูลช่วยในการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ทำให้เกิดสารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กรได้
2) คลังข้อมูล (Data Warehouse) คือ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิด เข้าด้วยกัน เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์การ โดยข้อมูลในคลังข้อมูลอาจได้มาจากฐานข้อมูลของระบบปฏิบัติการในองค์การ และฐานข้อมูลจากแห่งภายนอกองค์การ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเลือก, กลั่นกรอง และปรับแก้ไขทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
3) ดาต้ามาร์ท (Data Mart) คือ คลังข้อมูลขนาดเล็กที่มีลักษณะเจาะจง สำหรับใช้ในองค์การธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าคลังข้อมูล และการจัดทำข้อมูลดาต้ามาร์ท ใช้เวลาที่สั้นกว่าคลังข้อมูล และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายในหน่วยงาน สะดวกกว่าการใช้คลังข้อมูล
4) ดาต้าไมนิ่ง (Data Mining) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถกลั่นกรอง วิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์หรือได้ข้อมูลที่ซ่อนเร้นอยู่ในข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล และนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาใช้เป็นฐานความรู้เพื่อช่วยในการบริหารงาน
5) การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) เป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการค้นหารและวิเคราะห์ข้อมูลจากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถใช้ OLAP ในการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การหมุนมิติ, การเลือกช่วงข้อมูล, การเลือกลำดับชั้นของข้อมูล

ข้อ 2. จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
คำตอบ.
- ช่วยลดปริมาณในการจัดเก็บข้อมูล
- ช่วยลดการซ้ำซ้อนของข้อมูลในการจัดเก็บ
- ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ง่ายและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
- การนำข้อมูลที่ต้องนำไปประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว

ข้อ 3. ธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business Intelligent คืออะไร แลมีการนำไปใช้งานอะไร
คำตอบ.
คือ การใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการเข้าใช้งานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการค้นพบโอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินการทางธุรกิจ
การนำไปใช้ ได้แก่
-
การจัดทำประวัติของลูกค้า
- การประเมินถึงสภาพของตลาด
- การจัดกลุ่มของตลาด
- การจัดลำดับทางด้านเครดิต
- การเพิ่มความสามารถในกรทำกำไรของผลิตภัณฑ์
- การจัดการความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลัง

ข้อ 4. จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดาต้าไมนิ่งในธุรกิจอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้มา
อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

คำตอบ.
โรงงานอุตสาหกรรม - คิดวิเคราะห์ที่จะผลิตสิ่งใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด
ร้านสะดวกซื้อ - เพื่อจะได้สั่งสินค้าออกใหม่เข้าร้านได้ทันกับความต้องการของลูกค้า
สถาบันการศึกษา - เพื่อจะได้คิดค้นหลักสูตรใหม่ วิธีการสอนใหม่ ให้เหมาะกับผู้เรียน

ข้อ 5. จากปัญหาของแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและดา
ต้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง

คำตอบ.
คลังข้อมูลมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งและหลากหลายชนิดเข้าด้วยกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการคัดเลือก กลั่นกรอง และปรับแก้ไขทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังมีดาต้าไมนิ่งซึ่งช่วยในการ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ จึงส่งผลให้มีความคล่องตัวในการใช้งาน ลดปัญหาความช้ำซ้อนของข้อมูล มีความเป็นอิสระของข้อมูล สนับสนุนการใช้งานร่วมกัน มีความคล่องตัวในการใช้งาน และมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

คำถามท้ายบทที่ 2 เรื่อง การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ Hardware และ Software

ข้อ 1. ให้พิจารณาจากใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป แล้วระบุรายละเอียดของสิ่งต่อไปนี้
คำตอบ
1. ซีพียู Intel Pentium D 2.66GHz 2x1MB L2 Cache Em64T, Execute Dissble Bit, 533Mhz FSB
2. หน่วยความจำ 512MB 533MHz DDR2 SDRam memory
3. อุปกรณ์รับข้อมูล Combo DVD-Drive, 9 Different media cards, 9 USB2.0,Mouse HP Optical, Multimedia Keyboards PS/2
4. อุปกรณ์แสดงผล NVIDIV GeForce 7300LE 3D PCI-Express Graphics, Monitor 17"HPmx705
5. อุปกรณ์การสื่อสาร Lan 10/100Mbps, Modem 56Kbps
6. อุปกรณ์จัดการสื่อสาร
7. ซอฟต์แวร์ระบบ Window XP Service Pack 2
8. ซอฟแวร์ประยุกต์ Microsoft Office Profressional Edition 2003

ข้อ 2. ถ้าท่านผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ และต้องให้คำแนะนำในการจัดหาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานสำนักงาน ท่านจะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผลประกอบ
คำตอบ.
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เพราะ มีขนาดเล็กเหมาะกับการตั้งโต๊ะในสำนักงาน มีความสามารถที่เหมาะกับงาน ไม่ต้องลงทุนมากใช้งานได้ง่าย ง่ายต่อการใช้งานของบุคคลากร ง่ายต่อการติดตั้ง ประหยัดเนื้อที่

ข้อ 3. หากท่านต้องการลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาคการศึกษาหน้า ท่านมีแนวคิดที่จะเลือกเรียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ใด ระบุเหตุผลประกอบ และท่านคิดว่าโปรแกรมเมอร์มืออาชีพจำเป็นต้องรู้มากกว่า 1 ภาษาคอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
- HTML และ Java
เพราะว่า 2 ภาษานี้ เป็นพื้นฐานให้กับภาษาที่มีระดับสูงและยากกว่า จึงคิดว่าควรจะรีบลงทะเบียนเพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการเรียนในภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่อไป
คิดว่าจำเป็นต้องรู้มากกว่า 1 ภาษา เพราะ เมื่อรู้ภาษาทางคอมพิวเตอร์หลายภาษา เราก็สามารถปรับเข้าไปใช้กับงานของเราได้ตรงความต้องการของงานแต่ละประเภท

ข้อ 4. จงยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบมา 3 อย่าง
คำตอบ.
- Window
- LINUX
- UNIX
- DOS

ข้อ 5. ให้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
คำตอบ.
Hard ware
1. จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. จะมีขนาดเล็กลง
3. จะมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ทำให้ใช้งานสะดวก

Software
1. จะมีโปรแกรมอำนวยความสะดวกและตรงความต้องการให้เลือกใช้มากขึ้น
2. โปรแกรมจะใช้งานง่ายขึ้น
3. มีการแข่งขันกันพัฒนา Software มากขึ้น

คำถามท้ายบทที่ 1 เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

ข้อ 1. ระบบสารสนเทศคืออะไร และระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไรบ้าง
คำตอบ.
ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบ หรือระบบย่อยต่าง ๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
สารสนเทศ (Information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้
ระบบสารสนเทศ หมายถึง เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและ สนับสนุนการตัดสินใจ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศแสดงดังรูป


ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์คือ สามารถนำไปช่วยในการทำงานต่าง ๆ เมื่อมีระบบสารสนเทศที่ดีช่วยในการตัดสินใจ วางแผน ก็จะสามารถทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ง่าย ช่วยให้ได้เปรียบในการค้าธุรกิจ

ข้อ 2. ข้อมูลกับสารสนเทศ และสารสนเทศกับความรู้ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.
ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล สารสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ส่วนความรู้คือการรับรู้และความเข้าใจในสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ก็คือ มีความเข้าใจ องค์ประกอบต่าง ๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้

ข้อ 3. ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทั่ว ๆ ไปมีอะไรบ้าง
คำตอบ.
ส่วนประกอบของสารสนเทศทั่ว ๆ ไป มี 4 ส่วน คือ
1. ส่วนการรับข้อมูล (Input)
2. ส่วนการประมวลผล (Process)
3. ส่วนการแสดงผล / ส่งออก (Output)
4. ส่วนการส่งข้อมูลสะท้อน (Feedback)

ข้อ 4. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CBIS) คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
คำตอบ.
ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คือ การพัฒนาและประยุกต์เอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการสื่อสารมาใช้ควบคู่กับสานสนเทศ กลายเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งข้อมูลและสารสนเทศถึงกันและกันได้
ซึ่งระบบดังกล่าวจะต้องประกอบด้วย 6 ส่วนต่อไปนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอร์ฟแวร์ (Software)
3. ข้อมูล (Data)
4. การสื่อสารหรือเครือข่าย (Networks)
5. กระบวนการทำงาน (Process)
6. บุคลากรที่จัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Peopleware)

ข้อ 5. จงยกตัวอย่างระบบใด ๆ มา 1 ระบบ พร้อมทั้งจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย
คำตอบ.
ระบบโรงงานผลิตแคปหมู
Input - หนังหมู
Process - ขั้นตอนการทำแคปหมู
Output - แคปหมู
Feedback - รสชาติ คุณภาพ ของแคป
เป้าหมาย - เพราะการทำแคปหมูนั้นไม่ใช้เรื่องง่ายจะต้องมีการวิเคราะห์ชนิดของหนังหมูด้วย ว่ามาจากส่วนไหนจากตัวหมู เพราะการผลิตแคปหมูที่ผลิตจากหนังหมูที่มาจากคนล่ะส่วนของร่างกายหมู ก็มีกรรมวิธีขั้นตอนในการทำที่แตกต่างกันเริ่มตั้งแต่ การตากหนัง เวลาการตาก ของแต่ล่ะเกรดของหนังก็จะแตกต่างกันไปเป็นการพิถีพิถันมาก ๆ จึงต้องมีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ก่อนการผลิต เพื่อให้ได้แคปหมูที่มีคุณภาพรสชาติถูกปาก สามารถนำไปจำหน่ายได้ผลกำไรตอบแทนที่ดี

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

เคล็ดวิธี Boot เข้าวินโดวส์ อย่างฉับไว

เคล็ดวิธี Boot เข้าวินโดวส์ อย่างฉับไว
ความต้องการอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนอยากได้นั่นก็คือ การใช้เวลาให้น้อยที่สุดหลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จนกระทั่งเริ่มใช้งานได้ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนที่เป็น Windows 9x จะใช้เวลาในการบูตเข้าวินโดวส์นานมาก และก็ได้มีการพัฒนาในการลดความเร็วในการบูตเข้าสู่วินโดวส์เมื่อเป็น Windows ME และในที่สุด Windows XP ก็สามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้เร็วกว่า แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็บูตช้าเหมือนเดิมอีก ฉบับนี้เราจะมาดูวิธีการแก้ไข โดยจะอิงการใช้งานกับ Windows XP

ความต้องการอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนอยากได้นั่นก็คือ การใช้เวลาให้น้อยที่สุดหลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จนกระทั่งเริ่มใช้งานได้ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนที่เป็น Windows 9x จะใช้เวลาในการบูตเข้าวินโดวส์นานมาก และก็ได้มีการพัฒนาในการลดความเร็วในการบูตเข้าสู่วินโดวส์เมื่อเป็น Windows ME และในที่สุด Windows XP ก็สามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้เร็วกว่า แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็บูตช้าเหมือนเดิมอีก ฉบับนี้เราจะมาดูวิธีการแก้ไข โดยจะอิงการใช้งานกับ Windows XP

การอัพเกรดไบออส
ไบออสคือโปรแกรมเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กตามโปรแกรม ที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะทำหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น การรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ การอัพเกรดไบออสของคอมพิวเตอร์ให้ได้โปรแกรมที่ใหม่ที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้การทำงานของเมนบอร์ดดีขึ้น และบางครั้งอาจทำให้บูตเร็วขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนการอัพเกรดไบออสนั้นให้ดูที่คู่มือเมนบอร์ดว่าใช้เมนบอร์ดยี่ห้ออะไร รุ่นไหน แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ ก็ไปที่ส่วนดาวน์โหลด โดยจะต้องดาวน์โหลดทั้งไฟล์ที่ใช้ในการแฟลชไบออส และไฟล์โปรแกรมของไบออส เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้แตกไฟล์ออกมา โดยจะเอาไว้เก็บที่ดีที่สุดคือที่รูทของ C: จากนั้นให้บูตจากแผ่นดิสก์แล้วกด Shift + F5 ตอนบูตเพื่อที่จะได้บูตแบบไม่ได้โหลดอะไรมาเลย แล้วที่ดอสพร็อมพ์ ให้พิมพ์ C: แล้วกด Enter เพื่อเข้าไดรฟ์ C: แล้วพิมพ์ execute.exe bios.img โดย execute.exe จะแทนชื่อโปรแกรมที่ใช้ในการแฟลช ให้พิมพ์ให้ตรงกับชื่อโปรแกรม bios.img จะแทนตัวไฟล์ของโปรแกรม โดยพิมพ์ให้ตรงกับชื่อ จากนั้นกดคีย์ Enter อาจจะมีการถามว่าต้องการแฟลชจริงหรือไม่? ก็ให้ตอบ Yes ไป ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการแฟลช ใช้เวลาระยะหนึ่งก็เสร็จ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะถ้ามีการผิพลาด เช่น ไฟฟ้าดับ ก็อาจทำให้เมนบอร์ดเสียไปได้ ดังนั้น ถ้ามี UPS ก็คงจะดี เมื่อแฟลชเสร็จแล้วก็ให้รีบูตใหม่ ถ้าบูตเข้าก็แสดงว่าแฟลชเรียบร้อยแล้ว ให้ดูเวอร์ชันและวันที่ของไบออสที่ได้แฟลชเข้าไปใหม่ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนไป
ปรับแต่งไบออส
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า ไบออสเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่สุดที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ การเข้าไปปรับแก้เกี่ยวกับไบออสก็จะทำให้การทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้บูตเร็วขึ้นได้
ขั้นตอนการเข้าไปแก้ไขไบออส ให้กดคีย์ Delete หลังจากเปิดเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คีย์ Delete อยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็ลองมองดูที่หน้าจอตอนบูตว่าต้องกดคีย์อะไรเพื่อเข้าไปแก้ไขไบออส หลังจากเข้าไปสู่หน้าไบออสเซตอัพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือล้วนๆ ให้เข้าไปหาสิ่งต่อไปนี้แล้วแก้ไขตาม
- Turbo Frequency ให้เลือก ENABLE คำสั่งนี้ไม่ได้มีทุกเมนบอร์ด แต่ถ้ามีก็ให้เอนเนเบิลไว้ จะทำให้ความเร็วบัสเร็วขึ้นประมาณ 2.5% ซึ่งจะทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบเร็วขึ้น (เป็นการโอเวอร์คล็อกแบบไม่มากนัก)
- IDE Hard Disk Detection สั่งให้ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์และซีดีรอม จากนั้นก็บันทึกลงไบออส จะทำให้ความเร็วในการบูตเร็วขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับที่การตั้งเป็น Auto แล้วต้องตรวจสอบทุกครั้งที่บูต

- Standard BIOS Setup Menu เข้าไปเช็คดูอีกครั้งว่าฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมไม่ได้อยู่ในภาวะที่เป็น Auto
- Quick Power On Self Test (POST) ให้ ENABLE ไว้จะทำให้บูตเร็วขึ้น
- Boot Sequence ให้เลือกเป็น C นำหน้า ถ้าไม่ต้องการบูตจากแผ่นดิสก์ จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปเริ่มบูตจากแผ่นดิสก์ก่อน
- Boot Up Floppy Seek ให้ DISABLE ไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการไปค้นหาแผ่นตอนเริ่มบูต
ลดโปรแกรมที่โหลดตอนเริ่มต้นบูตเข้าวินโดวส์
ขั้นตอนนี้แหละที่ลดโปรแกรมที่ขึ้นมาเป็นแผงที่ทาส์กบาร์ ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาในการบูตและเสียทรัพยากรของเครื่องโดยที่บางครั้งเราไม่ได้ใช้มัน ปกติโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ในหลายๆ ที่ เช่น ในรีจิสทรี ใน Startup การเข้าไปลบ ถ้าต้องเข้าลบตรงๆ ก็อาจจะเสียเวลา แต่วินโดวส์ก็ได้ให้ทูลในการเข้ามาช่วย นั่นคือโปรแกรม System Configuration Utility หรือที่รู้จักในชื่อ MsConfig
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมให้ไปที่ Start - Run แล้วพิมพ์ msconfig จากนั้นกด Enter

หลังจากเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วให้ไปที่แท็บ Startup ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโปรแกรมทั้งหมดที่โหลดขึ้นมาตอนเข้าวินโดวส์ ไม่ว่าจะเขียนไว้ที่ไหน ตรงนี้เราสามารถพอเดาชื่อโปรแกรมได้ ถ้าไม่ต้องการโปรแกรมใดก็เอาเครื่องหมายถูกข้างหน้าโปรแกรมออก เช่น ICQ, HotSync Manager, MSN Messenger ซึ่งเราไม่ได้มีความเป็นต้องโหลดทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
หลังจากเลือกโปรแกรมที่ไม่ต้องการออกแล้วให้กด OK ก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาถามว่า จะรีตาร์ทเลยหรือไม่? ตรงนี้แล้วแต่ว่าจะทำงานต่อหรือจะรีสตาร์ทเลยก็ได้ หลังรีสตาร์ทเข้ามาวินโดวส์แล้วจะไม่มีโปรแกรมเหล่านี้โหลดขึ้นอีก
เอาเซอร์วิสที่ไม่จำเป็นออก
เซอร์วิสจะเป็นส่วนของโปรแกรมที่ทำหน้าที่ต่างๆ ของวินโดวส์ โดยทำงานอยู่แบ็กกราวนด์ เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่เห็นโปรแกรม แต่เซอร์วิสเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาในการเปิดตอนเปิดเข้าวินโดวส์เหมือนกัน และก็จะใช้ทรัพยากรของเครื่องไป บางเซอร์วิสเป็นสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็เปิดขึ้นมาหมดด้วย ดังนั้น การเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ก็จะเป็นการลดเวลาในการบูตและประหยัดทรัพยากรของเครื่องไปได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการเอาเซอร์วิสที่ไม่ต้องการออก ให้ไปที่ System Configuration Utility แล้วไปที่แท็บ Services กดเลือก Hide all microsoft services ออกก่อน ก็จะเหลือแต่เซอร์วิสที่เป็นโปรแกรมที่เราติดตั้งลงไปใหม่ ให้เลือกเอาส่วนที่คิดว่าไม่ต้องการออก แล้วกดปุ่ม Apply ส่วนเซอร์วิสของไมโครซอฟท์ซึ่งมีอยู่มากมายนั้น คงจะต้องเข้าไปอ่านกันเองนะครับ ว่าจะใช้ตัวไหน ตัวไหนไม่ใช้ โดยเข้าไปที่ Services แล้วเลือก Start - Run ให้พิมพ์ Services.msc ก็จะมีโปรแกรมขึ้นมา ที่นี่จะมีเซอร์วิสทุกตัวให้อ่านกันจนตาลายเลยก็ว่าได้










เอาโลโก้ตอนบูตออก

เราสามารถเพิ่มความเร็วในการบูตได้ โดยเอาโลโก้ตอนบูตออก แต่จะเพิ่มความเร็วได้เล็กน้อย วิธีการให้เข้า System Configuration Utility เลือก boot.ini เลือกบรรทัดที่มี /fastdetect แล้วเลือก /NOGUIBOOT เสร็จแล้วกดปุ่ม OK เราสามารถยกเลิกได้โดยการติ๊กเอาเครื่องหมายถูกออก



การลดการค้นหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง

บางครั้งวินโดวส์ของคุณมีอาการบูตช้ากว่าปกติ อาจจะเป็นเพราะวินโดวส์พยายามหาไดรฟ์ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ในกรณีที่ Primary IDE ของคุณมีฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว แต่วินโดวส์จะพยายามหาฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 ขณะที่กำลังบูต ทำให้เสียเวลาเพิ่มในการบูต
วิธีการแก้ไข ให้เข้าไปที่ Device Manager แล้วไปที่ IDE/ATAPI Controllers เลือกที่ Primary IDE คลิ้กขวาแล้วเลือก Properties จะมี หน้าต่าง properties (รูปตัวอย่างทางซ้าย) ขึ้นมาให้ไปที่แท็บ Advanced Settings ที่ช่อง Device 1 ซึ่งในที่นี้คือไดรฟ์ตัวที่ 2 บน IDE 1 ซึ่งไม่มีอยู่จริง ให้แก้ที่ Device type เป็น none (รูปตัวอย่างทางขวา) แล้วกดปุ่ม OK เพื่อยืนยัน ถ้าที่ Secondary IDE มีไดรฟฺที่ว่างอยู่ก็ให้ทำอย่างนี้ด้วย

















เคล็ดลับจากหนังสือ : Computer Today

ภาพยนตร์ส่งตรงถึงบ้านผ่านอินเทอร์เน็ต

Netflix และ LG ร่วมมือให้บริการภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต

Netflix ผู้ให้บริการเช่าภาพยนตร์ออนไลน์ใหญ่ที่สุดในโลกร่วมมือกับ LG Electronics ผู้ผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำจากเกาหลีประกาศความร่วมมือในการพัฒนาอุปกรณ์เซตทอปบ็อกซ์สำหรับผู้ใช้ตามบ้านสำหรับรับชมภาพยนตร์ และรายการต่างๆ แบบสตรีมมิงผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ความละเอียดสูงหรือ HDTV โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการรับขมบริการส่งตรงความบันเทิงถึงบ้านแบบออนไลน์นี้จะใช้เทคโนโลยีที่ฝังอยู่ในเครื่องเล่นของ LG ที่จะวางตลาดครึ่งหลังของปี 2008 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานความยืดหยุ่นในการใช้งาน และ ความสะดวกสบาย
ความร่วมมือดังกล่าวได้รับแรงส่งเสริมจากจุดแข็งของ Netflix ที่ได้นำเสนอบริการแบบผสมผสาน หลายมิติ หรือ "hybrid" ที่ทำให้สมาชิกกว่า 7 ล้านรายได้รับชมภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ได้ด้วยค่าบริการที่ต่ำ โดยผู้ชมสามารถรับชมภาพยนต์คุณภาพระดับความละเอียดสูง
ที่มา : eHomeUpgrade
อนาคตอยู่บ้านดูหนังก็ได้นะ

Windows XP ทำฮาร์ดดิสก์หายไปหลายกิ๊ก

Windows XP ทำฮาร์ดดิสก์หายไปหลายกิ๊ก

คนโพสชื่อนายเกาเหลาครับ

เพื่อนนายเกาเหลาคนหนึ่งมีปัญหาว่า หลังจากประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ซึ่งได้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ตัวเขื่องที่มีขนาดถึง 500 กิกะไบต์เข้าไป โดยเลือกใช้เป็นระบบ NTFS และไม่แบ่งพาร์ทิชันปรากฏว่า Windows XP แจ้งว่า ฮาร์ดดิสก์ในระบบมีขนาดเพียง 127 กิกะไบต์เท่านั้น โอ้ว...มันหายไปไหนตั้ง 373 กิกะไบต์!!!
จากปัญหาที่ได้ยินมานี้ มันมีโอกาสเกิดได้จากหลายสาเหตุอยู่เหมือนกัน ประการแรกเลย มันอาจเกิดจากข้อจำกัดใน Windows XP SP1 ที่ป้องกันให้ Windows เห็นฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่สุดได้เพียง 127 กิกะไบต์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ได้แก้ไขแล้วใน SP2 ดังนั้น หากเพื่อนนายเกาเหลาคนนี้ติตดั้ง SP2 เข้าไป ฮาร์ดดิสก์ที่หายไปก็น่าจะกลับมา
แต่ถ้าไม่ใช่ปัญหาข้างต้น สาเหตุอาจจะมาจากเมนบอร์ดก็ได้ ซึ่งอาจไม่สนับสนุนไดรฟ์ที่มีขนาดมากกว่า 127 กิกะไบต์ โดยปกติปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ด้วยการอัพเกรด BIOS แต่คงจะต้องเข้าไปตรวจสอบจากเว็บไซต์ผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม หากไม่พบ เพื่อนๆ ก็อาจจะต้องเข้าไปหาคำตอบในเว็บไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์
สำหรับทางเลือกในการแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจจะเป็นทางแก้สุดท้าย เพื่อให้ได้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์กลับคืนมา นั่นก็คือ การแบ่งพาร์ทิชัน โดยสามารถแบ่งได้ด้วยโปรแกรม Disk Management (คลิ้กปุ่ม Start เลือกคำสั่ง Run แล้วพิมพ์คำสั่ง diskmgmt.msc) คลิ้กขวาบน Unalocated Space แล้วเลือก New Partition เลือกออปชัน Extended Partition เพื่อนๆ อาจจะทำขั้นตอนนี้ซ้ำอีก 2 ครั้ง เพื่อให้ได้พื้นที่ดิสก์กลับมาทั้งหมด พร้อมทั้งกำหนดชื่อไดรฟ์ให้กับแต่ละพาร์ทิชัน และทั้งสามวิธีนี้คือ คำตอบที่นายเกาเหลามีให้กับเพื่อนคนนี้ครับ


ข้อมูลหน้าสนใจนี้ได้มาจาก
http://www.arip.co.th/
จึงนำมาเผยแผ่ให้เพื่อน ๆ ได้ทราบไว้เป็นวิทยาทาน